วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วิวัฒนาการตัวอักษรจีน

อักษรจีนเป็นอักษรที่ประดิษฐ์จากภาพวาด ภาพเหมือนของคน สัตว์
สิ่งของ ไปจนถึงปรากฎการณ์ธรรมชาติ เหมือนกับการวาดภาพตามสิ่งที่
มนุษย์เห็น
แล้วค่อยพัฒนา ปรับปรุง มีวิวัฒนาการมาเรื่อยๆ โดยยังคงรูปแบบ
ที่คล้ายกับของเดิมหรือเปลี่ยนแปลงไปเลยอย่างสิ้นเชิง อาจจะดัดแปลง
ที่ตัวเส้นสายลายเขียนเพิ่มส่วนโค้งส่วนเว้าเพื่อให้เขียนง่าย จดจำง่าย

แบ่งออกเป็นหลาบประเภทได้แก่ หนึ่งคืออักษรที่เขียนลงบนกกระดูก
สัตว์หรือกระดองเต่าที่เรียกว่า อักษรเจียกู่เหวิน ถัดมาเป็นอักษรโลหะ
หรืออักษรจิ้นเหวิน ถัดมาเป็น อักษรจ้วนเล็ก หรือ เสี่ยวจ้วน อักษรหลี่ซู
อักษรค่ายซู อักษณเฉาซู และ อักษรซิงชู ตามลำดับ

อักษรจีนเป็น
อักษรที่ประดิษฐ์
ขึ้น มีหลักการ
ประดิษฐ์อยู่ 6
ประการ คือ
หนึ่ง เป็นอักษร
ภาพเดี่ยวๆ คือ
อักษรที่เลียนแบบ
รูปร่างของสิ่งต่างๆ
เช่น ภาพเหมือน
ของคน สัตว์ และสิ่งของ เป็นต้นจากภาพตัวอย่างเป็นภาพลูกนัยตา


ส่วนอักษรที่เลียน
แบบจากสัตว์ เช่น
นก























สอง เป็นอักษรที่แทนสัญลักษณ์แทนความหมายของสิ่งต่างๆ
ด้วยขีดหรือ เส้นมาต่อกันหรือเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเพื่อแทนจำนวน
สาม อักษรภาพประกอบ เป็นการนำอักษรภาพเดี่ยว จำนวน
2 ภาพขึ้นไปมารวมกัน เพื่อขยายความหรือเกิดความหมายไหม่
























สี่ อักษรภาพและเสียงอักษรประเภทนี้ เป็นการนำอักษรภาพเดี่ยวตั้งแต่
2 ภาพขึ้นไปมารวมกัน โดยใช้ส่วนหนึ่งแสดงความหมาย และส่วนที่เหลือ
เป็นตัวกำกับการออกเสียง
























ห้า เป็นอักษรที่เลียนเสียง ก็คือตัวอักษรนั้นๆยืมเสียงมาจากตัวอักษรอื่น
โดยไม่คำนึงถึงความหมาย อักษรพวกนี้ได้แก่ อักษรที่เป็นชื่อเฉพาะ
และการทับศัพท์ต่างๆที่แสดงในตัวอย่าง
















หก เป็นอักษรโดยนัย เป็นตัวอักษรที่ความหมายของเดิมนั้นเป็น
รูปธรรม แต่ถูกหยิบยกมาใช้แสดงความในเชิงนามธรรมเกิดเป็น
ความหมายใหม่ คำในตัวอย่างแปลว่า รากไม้หรือตอไม้ เมื่อรวม
กับคำอื่นเข้าไปก็จะเกิดเป็นคำไหม่ดังตัวอย่าง














ที่มา : หนังสือ m fine magazine