วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

ฮีต 12 คอง 14

ฮีตสิบสองคองสิบสี่ เป็นประเพณีที่มีการสืบทอดมาอย่างยาวนานของชาวอีสาน สอดแทรกเรื่องราวขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม วิถีชีวิต ผ่านประเพณี ที่เชื่อมโยงระหว่างชุมชน พุทธศาสนา ความเชื่อ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการช่วยสืบทอด และอนุรักษ์ (เข้าดูรายละเอียด คลิ๊กที่นี่)

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทเรียนออนไลน์

บทเรียนออนไลน์ เรื่อง ประวัติบุคคลสำคัญสมัยรัตนโกสินทร์
ให้นักเรียนอ่านคำแนะนำในการเรียนให้เข้าใจก่อน
แล้วเริ่มด้วยการทำแบบทดสอบก่อนเรียน
เข้าเรียน  คลิ๊กที่นี่

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บุคคลสำคัญของโลกชาวไทย


บุคคลสำคัญของประเทศไทยที่องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(UNESCO)ยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกมีรายพระนามและรายนามบุคคลสำคัญของโลกชาวไทย ดังนี้คลิ๊ก

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ตารางธรณีกาล


จากร่องรอยและซากดึกดำบรรพ์ของพืชและสัตว์ที่ได้มีการค้นพบในชั้นหินของเปลือกโลก
ในที่ต่าง ๆ เราสามารถนำมารวบรวมและอธิบายประวัติความเป็นมาของโลกได้ ทำให้ทราบถึงลำดับและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตจากชีวิตแรกเริ่ม หน่วยเวลาที่ใหญ่สุดตามมาตราธรณีกาลเรียกว่า บรมยุค (Eon) โลกของเราประกอบด้วย 3 บรมยุค อ่านรายละเอียดต่อโดยคลิ๊กที่นี่

วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2554

อุทยานประวัติศาสตร์

อุทยานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย อยู่ในการดูแลของกรมศิลปากร ซึ่งเป็นหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันในประเทศไทยมีอุทยานประวัติศาสตร์ 10 แห่ง ซึ่งใน 10 แห่งนี้ มี 4 แห่งได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก
1.อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นมรดกโลก 13 ธันวาคม พ.ศ. 2534
2.อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย เป็นมรดกโลก 12 ธันวาคม พ.ศ. 2534
3.อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์
4.อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี
5.อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เป็นมรดกโลก 12 ธันวาคม พ.ศ. 2534
6.อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จังหวัดนครราชสีมา
7.อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี
8.อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร 12 ธันวาคม พ.ศ. 2534
9.อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี
10.อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์

วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วิวัฒนาการตัวอักษรจีน

อักษรจีนเป็นอักษรที่ประดิษฐ์จากภาพวาด ภาพเหมือนของคน สัตว์
สิ่งของ ไปจนถึงปรากฎการณ์ธรรมชาติ เหมือนกับการวาดภาพตามสิ่งที่
มนุษย์เห็น
แล้วค่อยพัฒนา ปรับปรุง มีวิวัฒนาการมาเรื่อยๆ โดยยังคงรูปแบบ
ที่คล้ายกับของเดิมหรือเปลี่ยนแปลงไปเลยอย่างสิ้นเชิง อาจจะดัดแปลง
ที่ตัวเส้นสายลายเขียนเพิ่มส่วนโค้งส่วนเว้าเพื่อให้เขียนง่าย จดจำง่าย

แบ่งออกเป็นหลาบประเภทได้แก่ หนึ่งคืออักษรที่เขียนลงบนกกระดูก
สัตว์หรือกระดองเต่าที่เรียกว่า อักษรเจียกู่เหวิน ถัดมาเป็นอักษรโลหะ
หรืออักษรจิ้นเหวิน ถัดมาเป็น อักษรจ้วนเล็ก หรือ เสี่ยวจ้วน อักษรหลี่ซู
อักษรค่ายซู อักษณเฉาซู และ อักษรซิงชู ตามลำดับ

อักษรจีนเป็น
อักษรที่ประดิษฐ์
ขึ้น มีหลักการ
ประดิษฐ์อยู่ 6
ประการ คือ
หนึ่ง เป็นอักษร
ภาพเดี่ยวๆ คือ
อักษรที่เลียนแบบ
รูปร่างของสิ่งต่างๆ
เช่น ภาพเหมือน
ของคน สัตว์ และสิ่งของ เป็นต้นจากภาพตัวอย่างเป็นภาพลูกนัยตา


ส่วนอักษรที่เลียน
แบบจากสัตว์ เช่น
นก























สอง เป็นอักษรที่แทนสัญลักษณ์แทนความหมายของสิ่งต่างๆ
ด้วยขีดหรือ เส้นมาต่อกันหรือเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเพื่อแทนจำนวน
สาม อักษรภาพประกอบ เป็นการนำอักษรภาพเดี่ยว จำนวน
2 ภาพขึ้นไปมารวมกัน เพื่อขยายความหรือเกิดความหมายไหม่
























สี่ อักษรภาพและเสียงอักษรประเภทนี้ เป็นการนำอักษรภาพเดี่ยวตั้งแต่
2 ภาพขึ้นไปมารวมกัน โดยใช้ส่วนหนึ่งแสดงความหมาย และส่วนที่เหลือ
เป็นตัวกำกับการออกเสียง
























ห้า เป็นอักษรที่เลียนเสียง ก็คือตัวอักษรนั้นๆยืมเสียงมาจากตัวอักษรอื่น
โดยไม่คำนึงถึงความหมาย อักษรพวกนี้ได้แก่ อักษรที่เป็นชื่อเฉพาะ
และการทับศัพท์ต่างๆที่แสดงในตัวอย่าง
















หก เป็นอักษรโดยนัย เป็นตัวอักษรที่ความหมายของเดิมนั้นเป็น
รูปธรรม แต่ถูกหยิบยกมาใช้แสดงความในเชิงนามธรรมเกิดเป็น
ความหมายใหม่ คำในตัวอย่างแปลว่า รากไม้หรือตอไม้ เมื่อรวม
กับคำอื่นเข้าไปก็จะเกิดเป็นคำไหม่ดังตัวอย่าง














ที่มา : หนังสือ m fine magazine